ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับ Ethereum เรามาทำความเข้าใจระบบเครือข่าย Internet ให้ลึกซึ้งกันก่อนดีกว่า
ณ ตอนนี้ ข้อมูลส่วนตัวต่างๆของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นรหัสผ่าน รวมไปถึงข้อมูลทางการเงิน จะถูกเข้าระบบและนำไปเก็บไว้ที่ระบบ cloud ในคอมพิวเตอร์ของผู้ที่มีหน้าที่ควบคุม เช่น Facebook, Google ,Amazon หรือ แม้แต่เว็บไซด์สยามบล็อก โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในเซิฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ซึ่งการใช้งานตรงนี้ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างเช่น ในเรื่องของการแฮคข้อมูล จากตัวแฮคเกอร์เอง หรือจากทางรัฐบาลที่สามารถสืบค้น หรือเจาะฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่สำคัญของคุณ โดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าข้อมูลที่สำคัญของคุณอาจจะถูก ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือแก้ไข โดยบุคคลที่สาม ก็เกิดขึ้นได้ และอาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายตามมา
โดย นาย Brian Behlendorf ผู้สร้างและพัฒนาระบบเซิฟเวอร์ Apache Web (ระบบบันทึกฐานข้อมูลที่กำลังเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน) ได้ออกมาประนาม ระบบศูนย์กลาง (centralize)ว่าเป็น ” ตราบาป ” แห่งอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งกล่าวเพิ่มเติมว่า จริงๆแล้วระบบอินเตอร์เน็ต ควรจะตั้งอยู่ในระบบแบ กระจาย (decentralize) มากกว่า เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และหลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาระบบ Blockchain ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาตรงส่วนนี้ และ Ethereum ก็ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีล่าสุดที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย ในขณะที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของตัวอย่าง อย่าง ธนาคาร และ Paypal ส่วน Ethereum ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการโจรกรรมข้อมูลจากบุคคลที่สาม และดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ แทนผู้ดำเนินการเว็บไซด์ต่างๆ ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เพื่อความปลอดภัย โดยจะดำเนินการผ่านเทคโนโลยี Blockchain
เครื่องคอมพิวเตอร์ใหญ่ของโลกใบนี้
ถ้าจะให้คำนิยามของ Ethereum แบบง่ายๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์ใหญ่ในโลกของเรา ที่เข้ามาช่วยในการกระจายข้อมูลของระบบต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้รูปแบบของเซิฟเวอร์แบบมาตรฐาน มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล โดยการทำงานของระบบ Ethereum นั้น จะแทนที่ระบบเซิฟเวอร์ และ cloud ด้วยระบบที่เรียกว่า node นับพันตัว ซึ่ง node นี้จะถูกติดตั้งและดูแลโดยอาสาสมัครจากทั่วโลก ( ถึงเรียกได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ของโลกใบนี้อย่างแท้จริง) ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ทำให้ Ethereum สามารถที่จะเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้เป็นอย่างดี และต้องการที่จะสร้างระบบและบริการที่ดี ผ่าน Ethereum
ขอยกตัวอย่างเล็กน้อย เช่น หากคุณเข้าไปที่ App store คุณจะได้พบกับแอพลิเคชั่น หลากหลายประเภท ที่มีตั้งแต่แอพลิเคชั่นสำหรับการออกกำลังกาย ไปจนถึงแอพลิเคชั่นที่ใช้ในการส่งข้อความ โดยแอพลิเคชั่นเหล่านี้ ยังต้องดำเนินการผ่านบริษัทตัวกลาง (หรือผู้ให้บริการบุคคลที่สามอื่นๆ) ในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญของลูกค้า อย่างเช่นหมายเลขบัตรเครดิต, ประวัติการซื้อขาย ไปจนถึงข้อมูลส่วนตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บไว้บนเซิฟเวอร์ของบริษัทตัวกลางเหล่านี้ โดยที่อำนาจการจัดการและควบคุมจะเป็นของบริษัทตัวกลางทั้งหมด
และฟังก์ชั่นอื่นๆในแอพลิเคชั่นที่มีให้ดาวน์โหลด ก็ล้วนแต่ถูกจัดการและควบคุมโดยบริษัทตัวกลางเช่นกัน อย่างเช่น แอพลิเคชั่นของ Apple , Google เป็นต้น โดยคุณสามารถดูผู้ให้บริการ ระบบเอกสารออนไลน์อย่าง Evernote หรือ Google Docs เป็นตัวอย่าง จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากมี Ethereum เข้ามาควบคุม ระบบข้อมูลต่างๆจะสามารถควบคุมได้โดยเจ้าของข้อมูลที่แท้จริง
โดยจะกล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ ทางบริษัทตัวกลาง หรือไม่ว่าใคร ก็จะไม่สามารถเข้ามาจัดการ หรือควบคุมข้อมูลต่างๆของคุณได้ ซึ่งทำให้ไม่ต้องกังวลเลยว่าข้อมูลของคุณจะปลอดภัยหรือเปล่า หรือ แอพพลิเคชั่นต่างๆที่คุณได้ดาวน์โหลดไว้จะหมดอายุ หรือปิดตัวลงตอนไหน นับจากที่มีระบบนี้เข้ามา คุณจะ
เป็นผู้ควบคุมทุกอย่างเอง
ซึ่งเอาจริงๆ ในทางทฤษฎีนั้น ระบบนี้จะเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างการควบคุมข้อมูลแบบเก่า กับระบบข้อมูลแบบใหม่ ที่เข้าใจง่าย ที่เราเคยผ่านตากันมาบ้างแล้ว โดยทุกครั้งที่คุณทำธุรกรรม หรือกิจกรรมใดใด จะมีการบันทึก และไม่ว่าจะเพิ่มหรือลบข้อมูลนั้นๆ ตัว node ทุกตัวบนเครือข่ายจะทำการอัพเดต
ข้อมูลให้ทั้งหมด
ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็ยังมีผู้คนที่เคลือบแคลงใจอยู่ไม่น้อยว่า ระบบนี้จะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้จริงหรือไม่ และถึงแม้ว่า แอพลิเคชั่นตามรูปภาพด้านบนจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า แอพลิเคชั่นของ Blockchain ตัวนี้ หรือตัวอื่นๆ จะสามารถพิสูจน์ข้อกล่าวอ้าง และทำให้เห็นว่าสามารถนำมาประยุกต์ในโลกออนไลน์ได้จริง